0

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลอดไฟ มารู้เรื่องหลอดไฟแบบไม่มีกั๊ก! กับน้องไฟหมุน

แนะนำความรู้หลอดไฟ PSCรู้เรื่องหลอดไฟแบบไม่มีกั๊ก ตั้งแต่ประเภท ความสว่าง การเลือกใช้ และรายละเอียดอื่นๆ

ตั้งแต่ความรู้เรื่อง ประเภทหลอดไฟ ความสว่างหลอดไฟ การเลือกใช้หลอดไฟ ขั้วหลอดไฟ ไปจนถึงการ เลือกซื้อหลอดไฟ

โดยน้องไฟหมุน ร้านไฟฟ้าพรแสงชัย


หลอดไส้ PSC
หลอดไส้
หลอดนีออน PSC
หลอดนีออน
หลอดฮาโลเจน PSC
หลอดฮาโลเจน
หลอด LED - PSC
หลอด LED


Introduction


          ก่อนอื่นเลยหากพูดถึงแสงสว่างจากหลอดไฟ แล้วคงเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานไม่ต่ำกว่า หนึ่งศตวรรษ ทำให้มนุษย์ของเราได้ใช้ชีวิตในแสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมง แม้ในยามที่ไม่มีแสงสว่างจากธรรมชาติ ดังนั้นวันนี้ผมน้องไฟหมุนมีความรู้เกี่ยวกับหลอดไฟชนิดต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่าหลอดไฟมีกี่ชนิด มีความสำคัญ อย่างไร ควรเลือกหลอดไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน รวมทั้งวิธีการเปลี่ยนหลอดไฟ และ การเช็คสภาพสินค้าเพื่อให้เพื่อนๆ ตัดสินใจเลือกซื้อหลอดไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานนะครับ


          โดยหัวข้อแรกที่น้องไฟหมุนจะพาไปรู้จักคือประเภทของหลอดไฟซึ่งหลอดไฟ ซึ่งมีหลากหลายชนิดเปลี่ยนไปตามลักษณะของการใช้งาน 



ประเภทของหลอดไฟ

          จากกระแสตื่นตัวด้านการประหยัดพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดการประหยัดพลังในด้านต่างๆ อย่างมากมาย หลอด LED เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วมีการเริ่มต้นใช้ในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 และได้รับความสนใจเพิ่มสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1996 หลังจากมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถนำมาใช้ทดแทนหลอดไฟประเภทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีการสูญเสียการใช้พลังงานที่น้อยกว่า สำหรับในประเทศไทยมีการใช้หลอดไฟหลายประเภท บางชนิดก็ใช้กันมาหลายสิบปี โดยสามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


1. หลอด Incandescent หรือที่เรียกกันว่า หลอดไส้

  • หลอดไฟชนิดนี้ ใช้กันมายาวนานกว่า 90 ปีแล้ว ภายในหลอดเป็น ไส้ที่ทำจากทังสเตน ให้ความร้อนสูงมากระหว่าง 100 - 400 องศาเซลเซียส แต่ประสิทธิภาพในการส่องสว่างต่ำ เพียง 10-15 lm/W เมื่อมีความร้อนสูงมากระหว่างการส่องสว่างจึงเท่ากับว่ามีการสูญเสียพลังงานมากด้วยเช่นกัน ระยะเวลาการใช้งานประมาณ 750 ชั่วโมง


  • หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดไส้ชนิดหนึ่ง ที่ไส้หลอดทาด้วยทังสเตน แต่บรรจุสารตระกูลฮาโลเจน เพื่อป้องกันการระเหิดตัวของไส้หลอด มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไส้ปกติ 2-3 เท่า หรือระยะการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 1500 – 3000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้ใช้กับงานส่องเน้น เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น


2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือที่เรียกกันว่า หลอดนีออน

  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ เริ่มกันใช้ตั้งแต่ ปี 1940 จนถึงปัจจุบัน อายุเฉลี่ยการใช้งานอยู่ที่ 2 ปี มีหลายขนาดโดยหลอดดังกล่าวประกอบไปด้วย


  • ตัวหลอด ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอน เล็กน้อย ผิวด้านในฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ


  • ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น


  • สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้ เมื่อได้รับความร้อนจนทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ปรอทก็จะเป็นไอพอที่นำกระแสไฟฟ้าได้


  • บัลลัสต์ เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก ขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น เมื่อแผ่นโลหะคู่ในสตาร์ตเตอร์แยกตัวออกจากกัน จะเกิดวงจรเปิดชั่วขณะ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอปรอทจากไส้หลอดข้างหนึ่งไปยังไส้หลอดอีกข้างหนึ่งได้ แต่ประสิทธิภาพการให้แสงสว่างของหลอดชนิดนี้อยู่ในระดับปานกลาง มีการสูญเสียพลังงานเพราะต้องใช้สตาร์ตเตอร์ และบัลลัสต์ ซึ่งใช้ไฟสูงถึง 10-12 W

 

 

3.  หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดโซเดียม หลอดแสงจันทร์

  • เริ่มมีการใช้ตั้งแต่ปี 1980 จนปัจจุบัน นิยมใช้ในการส่องสว่างตามท้องถนนและโรงงานอุตสาหกรรม หลอดไฟประเภทนี้ กินไฟมากอยู่ระหว่าง 400 - 500 W ขึ้นไป อุณหภูมิของหลอดร้อนมาก 100 - 400 องศา อายุการใช้งานเฉลี่ย 2-3 ปี


4. หลอด LED / แอลอีดี

  • LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode เป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเปล่งแสงสว่างเมื่อให้กระแสไฟผ่านตัวมัน ไดโอดเปล่งแสงออกมาได้แบบมีคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน และเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแส ไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลอด LED มีจุดเด่นหลายอย่าง คือ ใช้พลังงานต่ำแต่ให้ประสิทธิภาพการส่องสว่างที่สูงมาก ไม่มีแสง UV ไม่กระพริบขณะเปล่งแสง การเปิด - ปิดหลอดไฟ LED สามารถเปิด-ปิดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลารอนานเป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด และการประหยัดเงินค่าไฟฟ้าจากการใช้หลอดไฟ LED ตั้งแต่ 15-75% โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุการใช้งาน สูงสุดถึง 50,000 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 ปี ขึ้นไป




Infographic ประเภทหลอดไฟ by PSC


สรุป


     แม้ในปัจจุบันราคาของหลอดไฟ LED จะมีราคาสูงกว่าหลอดทั่วไป แต่ถ้าเปรียบเทียบเรื่องระยะเวลาการใช้งาน นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งพอจะสรุปข้อดีของหลอดไฟชนิดนี้ได้ในด้านต่างๆ เช่น ความประหยัด เพราะใช้พลังงานน้อยมาก แต่ให้ประสิทธิภาพในการส่องสว่างสูง ด้านความสว่าง ที่สามารถส่องสว่างได้ทันทีโดยไม่ต้องกระพริบก่อน ทั้งยังไม่ปล่อยรังสี UV ด้านความคงทน โดยสามารถทำงานได้ยาวนานที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหลอดชนิดอื่นๆ และด้านสิ่งแวดล้อม ถือได้ว่าหลอดชนิดนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากความประหยัดด้านพลังงานและความคงทนที่สามารถใช้ได้อย่างยาวนาน ทำให้ปริมาณขยะจากหลอดไฟลดลงด้วย การรณรงค์ส่งเสริมให้เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟประเภทต่างๆ ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน แค่เปลี่ยนมาใช้หลอด LED ก็ช่วยลดการใช้พลังงานได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย


ดูสินค้าหลอดไฟของเราได้ที่นี่   7 ข้อสงสัยเกี่ยวกับหลอดไฟแอลอีดี (LED)   

ประเภท ความสว่างหลอดไฟ PSC

ประเภทโทนสี และความสว่างของแสงของหลอดไฟ

ระดับโทนแสง และสีของหลอดไฟช่วยในเรื่องบรรยากาศ และอารมณ์ของมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพในการมองเห็น โดยต่อจากนี้น้องไฟหมุนจะพาไปรู้จักสีของหลอดไฟที่วัดกันจากความสว่างกันครับ



  • ความสว่างที่ 3000K Warm White แสงวอร์มไวท์ เป็นแสงโทนอุ่น จะมักใช้ในพื้นที่บริการ อย่างโรงแรม ร้านอาหาร บาร์ และคาเฟ่ เป็นแสงโทนอุ่นที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เหมือนได้พักผ่อน จึงเหมาะสำหรับห้องนอน ห้องรับแขก หรือ ห้องน้ำ และแสงวอร์มไว้ท์จะให้ลักษณะแสงที่คล้ายกันกับคูลไวท์ แต่มืดกว่าเล็กน้อย ดังนั้นก็อยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้


  • 4000K Cool White แสงคูลไวท์ ส่วนมากแสงคูลไวท์ลักษณะการใช้งานนั้นจะเฉพาะกว่า ตัววอร์มไวท์ ซึ่งแสงคูลไว้ท์จะถูกใช้ในงานจัด แสดงศิลปะ Display สินค้าต่าง ๆ หรือในแฟชั่นโชว์เพราะคุณสมบัติคูลไวท์นั้นจะช่วยวัตถุที่ไฟส่องไปนั้นดูเข้มขึ้น ช่วยซับสีและทำให้วัตถุนั้นดูสวยงามมาก และทำให้สายตาเราเห็นวัตถุนั้นสีผิดเพี้ยนไปจากความจริง


  • 6500K Day Light แสงเดย์ไลท์ เป็นแสงสีขาวปกติที่ใกล้เคียงกับสีแสงอาทิตย์ที่สุดไม่ทำให้แสงที่กระทบวัตถุสะท้อนกลับมาผิดเพี้ยน จึงมักนิยมใช้กันทั่วไปทั้งในครัวเรือน บริษัท หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นแสงสีขาวที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุดจึงเหมาะสมกับการใช้ได้ทุกที่ตามความต้องการของผู้ใช้


    

นอกจากโทนสีของแสง 3 ชนิดนี้แล้วยังมีโทนแสง อีก 2 ชนิดด้วยกัน คือ

Candle Light ความสว่างที่ 1000K+2600K และ Natural White ความสว่างที่ 3500-5000K ซึ่งจะไม่ค่อยเป็นที่นิยม ทั้งในด้านการใช้งาน และจำนวนสินค้าที่ไม่ค่อยได้รับการผลิตออกมาจึงไม่เป็นที่นิยมโทนแสงชนิดอื่น ๆ



ในหน้าสินค้าหลอดไฟของ psc.lighting จะแยกประเภทโทนสีของหลอดไฟดังนี้


Daylight เดย์ไลท์
5000+ K
Cool White คูลไวท์
4000-5000 K
Warm White วอร์มไวท์
2600-3000 K






หากสนใจสินค้าประเภทหลอดไฟ หรืออุปกรณ์ให้แสงสว่างสามารถตรวจสอบได้ที่ link ด้านล่างเลยครับ


PSC หลอดไฟ โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง

วิธีการเลือกหลอดไฟ

          จากการที่ได้เกริ่นในเรื่อง ชนิดของหลอดไฟ และโทนแสงของหลอดไฟว่าเหมาะกับการใช้งานประเภทไหน จากนี้น้องไฟหมุนจะมาขอแนะนำวิธีการเลือกหลอดไฟที่เหมาะสมกันนะครับ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวหลอดไฟเองด้วย และ ยังสามารถช่วยประหยัดค่าไฟไปในตัวได้อีกด้วยครับ เพราะในปัจจุบันแต่ละครัวเรือนมีการใช้จ่ายไฟฟ้ากันสูงมาก ดังนั้นการเลือกหลอดที่ดีอาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า แถมยังช่วยโลกในเรื่องของพลังงานอีกด้วย น้องไฟหมุนหวังว่าจะได้ช่วยทุกท่านที่ต้องการเลือกหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับที่ต้องการ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไฟ และค่าเปลี่ยนหลอดไฟครับ


วิธีเลือกหลอดไฟ PSCมาเลือกหลอดไฟกันเถอะ!


1.เลือกจากหลอดที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ควรเลือกหลอด LED เพราะมีชั่วโมงใช้งานนานที่สุด และประหยัดไฟมากที่สุด เนื่องจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้หลอดไฟติดได้แล้ว และเป็นหลอดที่มีระยะการใช้งานนานที่สุด และหลอดจะไม่ดับไป แต่ความสว่างของหลอดจะค่อย ๆลดลง


2.เลือกจากค่าความถูกต้องของสี 

ค่าความถูกต้องของสี CRI (Color Rendering Index) เป็นค่าวัดความสว่างของแสงสว่างที่มีค่า ตั้งแต่ 0-100 โดยหากจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสายตาเราที่สุดควรจะเป็นหลอดไฟที่แสงใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด หรือ แสงดวงอาทิตย์ที่สุด เนื่องจากแสงของหลอดไฟนั้นสามารถทำให้เรามองสีของสิ่งของเพี้ยนได้ ดังงนั้นการเลือกสีหลอดไฟควรจะอยู่ที่ 70-100 ที่มีความคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด 

    

3.เลือกระดับความสว่างของพื้นที่ 

การตกแต่งไฟภายในบ้านนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บางห้องควรจะได้รับแสงสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น ห้องอ่านหนังสือ ห้องครัว เพื่อลดอุบัติเหตุในการทำครัว หรือ ทำให้บรรยากาศภายในห้องครัวไม่ดูผ่อนคลายเกินไปจึงควรใช้ความสว่างแบบ Day Light หรือถ้าหากให้ห้องนั้นมีความผ่อนคลายอย่างห้องนอน ห้องน้ำ หรือ ห้องนั่งเล่นก็ควรเป็น Warm White ซึ่งโทนสีแบบ Warm White จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเวลาใช้งานห้องในส่วนนั้น


4.เลือกให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ของเรา 

หากระดับสีของแสงนั้นส่งผลมากต่ออารมณ์ของมนุษย์ และบางทีเราก็คงไม่อยากมีบรรยากาศแบบเดียวภายในบ้านของเรา เช่นบางวันต้องการจะทำกิจกรรมที่ใช้แสงมาก การใช้ไฟวอร์มไวท์ก็ไม่เหมาะ หรือบางครั้งอยากอ่านหนังสือในวันพักผ่อนสบาย ๆ การเลือกไฟวอร์มไวท์ก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะแสงของวอร์มไวท์มีความนุ่มนวลกว่า เหมาะสำหรับการพักผ่อน


5.เลือกที่เหมาะสมกับพื้นที่การตกแต่ง 


การเลือกไฟให้เหมาะกับพื้นที่ก็มีความสำคัญ เช่นบางพื้นที่ใช้แสงไฟน้อย ก็ไม่ควรติดตั้งไฟหลาย ๆดวง หรือการที่ติดดวงไฟในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจนต้องติดไฟอีกดวง เพื่อเพิ่มความสว่างนั้นก็ทำให้เสียค่าไฟเพิ่ม รวมไปถึงต้องตรวจสอบขั้วของหลอดไฟให้ตรงกับประเภทการใช้งานด้วยครับ


6.เลือกสินค้าที่มีมาตรฐานมอก. 

โดยที่ตรามอก. ย่อมาจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และตัว มอก.นั้นจะบ่งเป็นตัวบ่งบอกผู้บริโภคมั่นใจ และตรวจสอบได้ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน

    หากต้องการไฟหลายโทนสีแต่ไม่อยากติดตั้งไฟเยอะ ๆก็เลือกติดตั้งไฟแบบปรับโทนแสงได้ก็จะเหมาะกับคนที่อยากปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในห้องโดยไม่ต้องเสียพื้นที่ไปกับการติด

ตั้งหลอดไฟหลายๆ หลอดอีกด้วย


สรุป


การเลือกหลอดไฟเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ดังนั้น การเลือกใช้หลอดไฟน่าจะช่วยให้ทุกคนได้ลดค่าใช้จ่าย และสามารถสามารถลดการใช้ไฟในภาคครัวเรือนก็จะเป็นผลดีต่อประเทศและโลกอีกด้วยนะครับ


นอกจากการเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเราแล้วควรเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ มีตรามอก.ติดอยู่ที่กล่องผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และยังเป็นการประหยัดของเราไปในตัวอีกด้วย


และอย่าลืม เลือกหลอดไฟที่มีระดับแสง (Lumen) หรือจำนวนวัตต์ (Watt) ให้ตรงกับความต้องการด้วยนะครับ สงสัยเรื่องหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับหลอดไฟสามารถอ่านได้ที่ บทความหน่วยไฟฟ้า ได้เลยครับ หรือสามารถโทรมาปรึกษาที่ร้านเราได้ตามที่อยู่ด้านล่างครับ 


สุดท้ายนี้ หากต้องการหลอดไฟที่ประหยัดไฟ และ มีระยะการใช้งานที่ยาวนาน น้องไฟหมุนขอฝากหลอดไฟ LED ไว้เป็นตัวเลือก ของเพื่อนๆ ด้วยนะครับ

ประเภทของขั้วหลอดไฟ

ขั้วหลอดไฟมีอะไรบ้างมาดูกันเลย!


ขั้วหลอดไฟ (Light Bulb Base)

เป็นจุดสำคัญที่เราควรตรวจสอบให้ดี เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่าจะใช้หลอดไฟชนิดไหนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สำคัญเช่นกันก็คือขั้วของหลอดไฟ วันนี้น้องไฟหมุนมีเกร็ดความรู้เล็กน้อยมากฝากเพื่อนๆ ที่กำลังจะเลือกซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนให้กับอันเก่าที่หมดอายุการใช้งานที่บ้านนะครับ 

    

    ทั่วไปแล้วขั้วหลอดไฟจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทขั้วหลักๆ คือ ขั้วแบบเขี้ยว และ ขั้วแบบเกลียว โดยทั้งสองขั้วนี้จะสามารถแบ่งเป็นขั้วย่อยๆ อีกหลายชนิด


ขอบคุณภาพประกอบจาก wayfair.com


ขั้วแบบเกลียว 

ลักษณะของขั้วแบบเกลียวนั้นจะมีลักษณะเป็นเกลียว จะต้องคู่กับแท่นหลอดไฟที่เป็นเกลียวเหมือนกันเพื่อเวลาหมุนจะทำให้มันเข้ากันได้ และขั้วแบบเกลียวนั้นก็แบ่งออกเป็นอีกหลายชนิด ตั้งแต่ ขั้วเกลียว E10 - E40 และ EX39 แต่ขั้วเกลียวที่นิยมกันมากที่สุดคือ E14 และ E27


    ขั้วเกลียว E 14 มักถูกเรียกว่าหลอดขั้วเล็ก มักจะใช้กับหลอดรูปทรงปิงปอง และทรงกระบอกเล็ก มีทั้งเป็นหลอดแบบไส้ และ แบบหลอด LED


ขั้วเกลียว E 27 เป็นหลอดที่ถูกใช้มากสุดในชีวิตประจำวัน หรือเรียกอีกชื่อว่า tc-tse และขั้วนี้จะพบมากสุดใน หลอด Compact fluorescence และมีตั้งแต่หลอดไส้จนถึง LED และในอดีตมันใช้ในหลอดไส้ (Incandescent) และหลอดรูปทรงปิงปอง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีในรูปแบบของหลอดรูปทรงตระเกียบ หลอดประหยัดไฟแบบแท่ง และ หลอด LED 


ขั้วเกลียว E 40 เป็นขั้วขนาดใหญ่มักใช้กับหลอดที่ต้องการกำลัง วัตต์สูง ๆเพื่อรองรับหลอดไฟขนาดใหญ่ มักถูกติดตั้งในพื้นที่ ที่ต้องการแสงมาก ๆ โดยปกติ E 40 มักใช้กับหลอดไฟที่มีกำลังมากกว่า 40 W มักถูกใช้ในพื้นที่ใหญ่ ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนาม โกดังสินค้า โรงงาน และมักถูกใช้ในไฟสปอตไลท์ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาให้มาใช้ แบบ LED ที่ประหยัดขึ้น คุณภาพดีขึ้น น้ำหนักเบาลง และสามารถใช้งานได้นานขึ้น


ขั้วแบบเขี้ยว 

จากที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นว่ามี ขั้วสองแบบใหญ่ ๆ แบบเกลียว และ แบบขั้ว และอีกแบบที่มักพบก็ขั้วแบบเขี้ยว โดยลักษณะ คือจะเป็นแง่งเหมือนเขี้ยว โดยต้องนำหลอดไฟมาเกี่ยวกันถึงจะทำงานได้ ลักษณะจะคล้ายกับเต้าถ่านไฟฉาย และขั้วแบบเขี้ยวก็ยังมีหลายรูปแบบตั้งแต่ G4 - G12


ขั้วแบบเขี้ยว G10 (Twist and Lock Bases) มักถูกเรียกว่า “ขั้วขาสตาร์ทเตอร์” มีลักษณะเป็นแบบขาบิดล๊อคได้ มีทั้งในแบบ LED ที่ใช้ได้มักจะพบเห็นในรูปแบบถ้วย MR16 ซึ่งหลอดดังกล่าวนิยมนำมาใช้ โคมไฟตกแต่ง โคมไฟส่องสินค้า หรือที่ไว้ส่องผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ


ขั้วแบบเขี้ยว G13 หรือขั้วหลอดนีออน ขั้วชนิดนี้มากนำมาใช้กับหลอดนีออน T8 , T5 แต่การที่จะทำให้ไฟติดได้นั้นต้องทำงานคู่กับสตาทร์เตอร์ กับบัลลาสต์ แต่ปัจจุบันมี LED TUBE ที่ประหยัดไฟติดตัังง่าย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมี สตาทร์เตอร์ กับ บัลลาสต์ที่ใช้ทำงานคู่กับขั้วชนิดนี้


ขั้วแบบเขี้ยว GU 5.3 เป็นหลอดไฟที่ส่วนมากใช้ในการส่องตู้โชว์ตั้งแต่ เล็กจนถึงตู้ขนาดใหญ่ ส่วนมากใช้เป็นหลอดฮาโลเจนแบบถ้วย และ แคปซูล ซึ่งลักษณะขั้วจะเป็นเหล็กแหลมสั้นๆ 2 แท่งที่ตัวขั้วหลอด และ เลข 5.3 ที่เป็นชื่อขั้วนั้น คือระยะห่างของแท่งเหล็กทั้ง 2 แท่ง โดยนับใช้หน่วยมิลลิเมตร


การที่จะเลือกซื้อหลอดไฟ ก็จำเป็นต้องดูขั้วหลอดก่อนเลือกซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนเพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในการนำหลอดไฟกับไปเปลี่ยน และนอกจากขั้วหลอดำฟแล้วควรจะเลือกรูปทรงของหลอดไฟให้เหมาะกับตัวไฟที่ติดกับผนัง หรือตัวโคมไฟ ที่เพื่อน ๆต้องการนำมาเปลี่ยนด้วยนะครับเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือ เพื่อให้เกิดความสวยให้กับห้องเพื่อนๆ เรื่องต่อไปที่น้องไฟหมุนจะพาไปรู้จักคือการแนะนำรูปทรงหลอดไฟว่ามีแบบไหนบ้างนะครับ



ติดต่อเรา / Contact Us


เลขที่    32,34   ซอยจันทน์ 6 แขวงทุ่งวัดดอน   เขตสาทร   กรุงเทพมหานคร 10120


คุณลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่ เบอร์โทร 

และช่องทางการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ของบริษัทได้ตามนี้เลยค่ะ 

ทางร้านยินดีต้อนรับท่านที่สะดวกเข้ามาที่หน้าร้านเช่นกัน


ทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้บริการคุณลูกค้าในอนาคต   ขอบคุณค่ะ




 เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น.



 LINE Official Account   @Pornsangchai



 Email : pornsangchai@hotmail.com



 Tel. (+66) 214 3641 | 215 5859 | 216 2661 | 216 2825



 Fax. (+66) 214 0756



 *สินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือใด โปรดติดต่อมาตามข้อมูลข้างต้นได้เลยค่ะ

Copyright ® 2021 www.psc.lighting