2022-05-21 10:15:36
ไฟแสดงสถานะ (Pilot Lamp , Status Light หรือ Pilot Light) คือ หลอดไฟแสดงสถานะ มักติดตั้งไว้ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า โดยมีหน้าที่บอกสถานะการทำงาน เช่น การทำงาน การหยุดทำงาน หรือแจ้งเตือนเมื่อมีกรณีเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบ โดยสีของไฟสถานะ จะแจ้งเตือนโดยแสดงตามสีที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้
สีแดง มักใช้กับการแจ้งสถานะ ขณะเครื่องจักรเมื่อเครื่องจักรหยุดทำงาน หรือไม่พร้อมทำงาน
สีเขียว มักใช้เป็นสถานะแจ้งว่า เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่
สีเหลือง จะบ่งบอกสถานะเตือนให้ผู้ปฏิบัติทำหน้าที่เช็คระบบการทำงานของเครื่องจักรเนื่องจากม มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
สีฟ้า (blue) เป็นสีที่นิยมนำไปใช้กับตู้ไฟฟ้า 3 phase
สีขาว
แบบแรกคือการแบ่งตามรูปทรงของไฟสถานะ (Pilot Lamp shapes)
1.ไฟสถานะรูปทรงกลม 2.รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3.รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
แบบที่สองคือการแบ่งตามรูปแบบการติดตั้งของไฟสถานะ
ถูกออกแบบมาให้ทำงานทั่วไป โดยมีคุณสมบัติตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสเปค หรือองค์ประกอบได้ มักถูกประกอบมาให้เรียบร้อยจากโรงงาน มีข้อดีคือไพรอต แลมป์ชนิดนี้ช่วยลดขั้นตอนการติดตั้งหลอดไฟ และมีราคาที่ถูกกว่า ข้อเสีย คือหากไพรอต แลมป์ชนิดนี้เสียมักจะต้องเปลี่ยนหลอดไฟยกชุด และมีความยุ่งยากในการเปลี่ยนหลายขั้นตอนกว่า
เป็นรูปแบบหลอดไฟที่ สามารถเลือกสเปคได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ เช่น รูปทรงหลอดไฟ สีหลอดไฟ ได้ตามต้องการแต่บางชนิดนั้นไม่สามารถทำงานร่วมกันได้จำเป็นต้อง สอบถามข้อมูลและปรึกษาจากผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายก่อนซื้อมาติดตั้ง หรือใช้งาน โดยข้อดีของหลอดชนิดนี้ คือสามารถ เลือกสเปคตามที่เราต้องการจะใช้ได้หรือหากมีชิ้นไหนเสียก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะชิ้นได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยกชุด โดยสามารถเปลี่ยนได้ รวดเร็ว และง่ายกว่าแบบสำเร็จรูป แต่ทำให้หลอดไฟชนิดนี้มีราคาสูงกว่าแบบ สำเร็จรูป
1.แสดงรูปแบบสถานะได้อย่างเดียว
หลอดชนิดนี้จะไม่มีปุ่มกดสัมผัส หรือ สัญญาณเตือน การแจ้งเตือนจะมีสีตามที่ผู้ใช้ติดตั้งไว้ (ส่วนมากจะเป็น แดง เขียว เหลือง น้ำเงิน) ราคาของหลอดชนิดนี้จะไม่สูงมาก ส่วนมากมักถูกติดตั้งบนตู้ คอนโทรล หรือ ตู้ควบคุมมอเตอร์เอาไว้เพื่อดูสถานะการทำงานของอุปกรณ์
2.ไฟแสดงสถานะ พร้อมเสียงเตือน Buzzer
หลอดชนิดนี้มักใช้ในรูปแบบการแจ้งเตือน ความผิดปกติของระบบ โดยนอกจากจะมีไฟแจ้งเตือนสถานะยังมีฟังช์ชั่นในการเพิ่มแสงเตือนเข้ามา โดยไพลอต แลมป์ชนิดนี้จะมีการใช้นอต ชนิดพิเศษยึดตัวไพรอตกับแผงควบคุม โดยข้อสังเกตในการแยกชนิดหลอดชนิดนี้กับแบบธรรมดาคือ สามารถดูได้จากสัญญาลักษณ์รูปแบบ ลำโพงกับตัวหลอดได้
3.ไฟแสดงสถานะพร้อมกับปุ่มกด
เหมาะสำหรับการทำงานแบบตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ พร้อมกับทั้งควบคุมไฟในอุปกรณ์ไปพร้อมกัน โดยสามารถ เปิด-ปิด การทำงานได้พร้อมกับการตรวจสอบสถานะ โดยไพรอต แลมป์ชนิดนี้จะยากต่อการติตตั้ง และ มีราคาสูงกว่าแบบ ไพลอตแลมป์แบบแสดงสถานะอย่างเดียว แต่ก็ถือเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน *ข้อควรระวังในการใช้งาน ไพลอต แลมป์ชนิดนี้คือ จำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบกำลังไฟที่ใช้แสดงสถานะเสมอ
ไพลอตแลมป์ เป็นอุปกรณ์ทั่วไปที่เราพบเจอได้ทั่วไปในการทำงานของเรา เป็นอุปกรณ์ที่ถือว่าสำคัญ ในการตรวจสอบสถานะ แจ้งเตือนการทำงานทีผิดพลาดของอุปกรณ์ของเรา ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษา และ เลือกที่เหมาะสมกับการใช้งานของ เรานะครับ โดย หัวข้อสุดท้ายที่น้องไฟหมุนจะมาแนะนำ คือวิธีการเลือกซื้อไพลอต แลมป์จะมีอะไรบ้าง
1.ไฟเลี้ยง (Voltage supply) โดยการเลือกไฟเลี้ยงนั้นเราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าอุปกรณ์ตู้ไฟ หรือ ตู้คอนโทรลของเรามีขนาดไฟเท่าไหร่ โดยไพรอตแลมป์จะมีขนาดไฟตั้งแต่ 12VAC/DC 24VAC/DC 110-120VAC และ 220-240VAC
2.เลือกสีของไฟแสดงสถานะ โดย สีที่มีการใช้ กันอย่างทั่วไป สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และ สีขาว
3.วัสดุของหลอดไฟแสดงสถานะ โดยมีให้เลือกแบบ พลาสติกและแบบเหล็ก โดยแบบพลาสติกมีราคาถูกกว่า แต่ทนทานน้อยกว่าแบบเหล็กที่มีราคาสูงกว่า และความทนทานในการใช้งานสูงกว่ส
4.ชนิดของหลอดไฟ และ การทำงานของหลอดไฟ ของหลอดไฟแสดงสถานะ (Bulb Types)
โดยจะแบ่งเป็นแบบ หลอดไส้ Bulb และ แบบ LED โดยแบบ Bulb จะมีทั้งแบบหลอดนีออนและหลอดไส้ แต่ปัจจุบันมักจะใช้ในรูปแบบหลอด LEDเนื่องจาก ชั่วโมงการทำงานที่นานกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า และทนทานกว่า รูปแบบ Bulb แบบการทำงานของ หลอดไฟจะมีสองรูปแบบ คือ รูปแบบไฟติดค้าง หรือ แบบกระพริบ เมื่อแสดงสถานะ ที่เกิดขึ้น
5.ขนาดของหลอด ไพลอต แลมป์ (Pilot Lamp Size) จะมีขนาดตั้งแต่ 16mm 22mm และ 30mm โดยขนาดที่มักจะได้รับความนิยมมากที่สุดคือ 22mm