2022-09-07 10:34:51
ในบทความนี้น้องไฟหมุนจะพาทุกท่านไปร่วมกันสำรวจว่าโอเวอร์โหลด รีเลย์คือออะไร และตอบคำถามที่ใครหลายๆคนอาจสงสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ครับ :)
Overload Relay คือ อุปกรณ์ป้องกันความเสียหายจากมอเตอร์ โดยหากอุปกรณ์ชิ้นนั้น ทำงานหนักเกินไป โดยวัดจากกระแสไฟฟ้าเกินกระแสพิกัด โอเวอร์โหลด รีเลย์มีหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันแบตเตอรี่เสียหาย ทำให้ปลอดภัยกับผู้ใช้ และยืดอายุของอุปกรณ์ โดยปกติแล้วมักจะติดตั้งคู่กับ แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor)
ความเสียหายจากกระแสเกินในมอเตอร์นั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดความร้อนสูงและอาจส่งผลให้มอเตอร์นั้นเกิดความเสียหายได้ ยกตัวอย่างเช่น การสตาทร์มอเตอร์แบบ DOL (Direct On Line Starter) นั้นจะทำให้มีความร้อนสูงมาก อาจจำเป็นจะต้องเลือก ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ต้องเลือกพิกัดที่สูงขึ้น เพื่อไว้ปลดวงจร หากมอเตอร์นั้นทำงานหนักเกินไปจะทำให้มีความร้อนสูงขึ้น ดังนั้นเบรกเกอร์หรือฟิวส์จะไม่สามารถป้องกันในส่วนนี้ได้
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้ง โอเวอร์โหลด รีเลย์เพิ่มเติมในส่วนนี้ การติดตั้งโอเวอร์โหลดที่มีขนาดเหมาะสมในอุปกรณ์สตาร์ทมอเตอร์ เพื่อทำการป้องกันมอเตอร์จากการเกิดโอเวอร์โหลด หรือความร้อนเกินพิกัด ซึ่งจะส่งผลต่ออายุการใช้งานของมอเตอร์ และความปลอดภัยของผู้ใช้
1. จำนวนของกระแสโหลด
2. ความถี่ในการสตาร์ทมอเตอร์
3. ระยะเวลาที่สตาร์ทมอเตอร์จนมอเตอร์มีความเร็วสูงสุด
4. อุณหภูมิสภาพแวดล้อม
5. ความสามารถในการระบายความร้อน
6. ระยะเวลากรทำงานของมอเตอร์
โอเวอร์โหลดแบบธรรมดา เมื่อกระแสไฟฟ้าโอเวอร์โหลดจะทําให้ Bimetal ร้อนและโก่งตัวออกไปแล้ว เมื่อเย็นตัวลงกลับที่เดิมจะทําให้หน้าสัมผัสควบคุมกลับตําแหน่งเดิม
โอเวอร์โหลดแบบที่มีรีเซ็ต (Reset) เมื่อเกิดกระแสโอเวอร์โหลดจะทําให้ Bimetal ร้อนและโก่งตัวออกไปแล้วจะมีกลไกทางกลมาล็อคสภาวะการทํางานของ หน้าสัมผัสควบคุมที่เปลี่ยนตําแหน่งไว้ เมื่อเย็นตัวลงแล้วหน้าสัมผัสควบคุมยังคงสภาวะอยูได้ ถ้าต้องการให้หน้าสัมผัส ควบคุมกลับตําแหน่งเดิมต้องกดรีเซต (Reset) ก่อน โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบมีรีเซต (Reset) นี้มักนิยมใช้ในการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
โอเวอร์โหลดเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยไม่ให้ตัวมอเตอร์นั้นเสียหาย มอเตอร์คือส่วนสำคัญอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรม หากตัวมอเตอร์เสียหายหรือมีปัญหาขึ้นมาคงจะไม่ดีแน่ ดังนั้นการมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกัน และปลดวงจรก่อนเพื่อไม่ให้มอเตอร์เสียหายคงดีกว่า
1. Thermal Overload Relay
ส่วนประกอบภายในของ Thermal Overload Relay ภายในมีขดลวดความร้อน หรือ Heater และ แผ่นไบเมลทัล (Bimetal) เป็นโลหะต่างชนิดกัน โลหะทั้งสองชนิดนี้จะเชื่อมติดกันเมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว เมื่อขดลวดความร้อนมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง จะส่งผลให้ขดลวดความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อนและโก่งตัว ดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด NC ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้าจากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทกเตอร์ ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทกเตอร์ ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ ป้องกันมอเตอร์ความเสียหายจากไฟเกินได้
2. Electrical Overload Relay
โอเวอร์โหลดชนิดนี้จะแตกต่างจาก Thermal overload relay เนื่องจากจะไม่มีตัวจับความร้อน แต่จะมีการป้องกันการสูญเสียเฟสด้วยการตรวจจับความสูญเสียของเฟสและการปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าและป้องกันสภาวะโหลดเกินของมอเตอร์อย่างต่อเนื่อง เมือไม่มีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบนี้มักจะใช้คู่กับ เบรกเกอร์ เพื่อช่วยในการป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
โดยรวมแล้ว Electrical Overload Relay มีความแม่นยำและความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Thermal Overload Relay แต่มีราคาสูงกว่ามาก และการใช้งานส่วนมากจะอยู่ในงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการทำเหมือง ซึ่งต้องการความแม่นยำและมีความยืดหยุ่นสูง