0

โซล่าเซลล์ คืออะไร มีกี่ประเภท และควรรู้อะไรบ้างก่อนตัดสินใจ โดยน้องไฟหมุน

2024-06-02 23:28:44

#ส่วนประกอบเสริม

สวัสดีคร้าบทุกท่าน วันนี้น้องไฟหมุนรวบรวมความรู้เกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ (Solar cell) มาให้ทุกคนแล้ว สามารถติดตามได้ที่นี่เลย! มีทั้งประเภท หลักการทำงาน และข้อแนะนำสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในที่เดียว ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย


แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) คืออะไร? โดยน้องไฟหมุน


โซล่าเซล์ หรือ เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ เรียกได้อีกชื่อว่าเซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้แสงอาทิตย์ เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตโดย โซลาเซลล์นั้นจะเป็น ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันที และ ยังสามารถเก็บไฟฟ้าไว้ที่แบตเตอรี่และนำมาใช้งานภายหลังได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ติดตั้งของ โซลาเซลล์ด้วย


แล้วโซล่าเซลล์เริ่มผลิตขึ้นมาเมื่อใหร่กันนะ? มาดูประวัติ และส่วนประกอบของโซล่าเซลล์กันดีกว่า


โซล่าเซลล์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรก ในปี ค.ศ.1954 หรือประมาณ 63 ปี มาแล้ว  ต่อมาในปี ค.ศ.1959 โซล่าเซลล์ ถูกพัฒนาให้เป็นปีก ของดาวเทียม ที่โคจรออกไปนอกโลก ทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า ให้กับดาวเทียมใช้ในการ ทำภารกิจสำรวจอวกาศเป็นต้น แต่ในปัจจุบันโซล่าเซลล์ถูกพัฒนามาให้เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งสำหรับภาครัฐ เอกชน และรวมไปถึงช่วยภาคครัวเรือนในการประหยัดไฟอีกด้วย

    

โซล่าเซลล์ เป็นพลังงานทางเลือก และเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือมลภาวะเหมือนแหล่งพลังงานอื่น ๆ อย่าง น้ำมัน, โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน และเป็นพลักงานที่ใช้ได้ไม่มีวันหมดไป โดยมีอายุการใช้เฉลี่ยของโซลาเซลล์อยู่ที่ 20-25 ปี


    โดยส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ ประกอบด้วย

  • กรอบโครงอลูมิเนียม

  • กระจก

  • Eva film  N Type- P Type

  • เซลล์แสงอาทิตย์

  • แผ่นประกบแผง

  • ขั้วต่อสายไฟฟ้า


หลักการทำงานของ โซล่าเซลล์ คือ กระบวนการที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยแสงมีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ เมื่อมีพลังงานไปตกกระทบกับสารกึ่งตัวนำและเมื่อพลังสูงเพียงพอ  จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเล็กตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนำให้กับอิเล็กตรอนและโฮล   ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลก็จะวิ่งเข้าหากันเพื่อจับคู่กัน อิเล็กตรอนจะวิ่งขึ้นไปยังชั้น N – type และโฮลจะวิ่งลงไปยังชั้น P – type  อิเล็กตรอนก็จะวิ่งขึ้นไปรวมกันอยู่ที่ชั้น Front Electrode และ โฮลก็จะวิ่งลงไปรวมกันที่ Back Electrode  และเมื่อมีการต่อวงจรไฟฟ้าจากชั้น Front Electrode บนสุด  และ Back Electrode ล่างสุด  เมื่อต่อครบวงจร ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น เราจึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าไปใช้งานได้


  • N Type คือ แผ่นซิลิคอน ผ่านกระบวนการ โดปปิ้ง (Doping) ด้วยสารฟอสฟอรัส (Phosphorus) เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะสร้างอิเล็คตรอนขึ้น และมีการนำไฟฟ้า

  • P Type คือ แผ่นซิลิคอน ผ่านกระบวนการ  (Doping)  ด้วยสารโบรอน(Boron) ทำให้โครงสร้างของอะตอมสูญเสียอิเล็กตรอนเกิดหลุมในชั้นนี้  (โฮล) โดยเมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะมีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน  เพื่อควบคุมให้มีการนำไฟฟ้าลงไป  เมื่อเซลล์ชั้นบนรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ พอพลังงานมาถึงชั้นนี้ ชั้นนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน  


ชนิดของโซล่าเซลล์ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

  • Polycrystalline

  • Monocrystalline

  • Thin Film


ข้อแนะนำในการติดตั้ง แผง โซล่าเซลล์ควรเตรียมตัว หรือ สำรวจอะไรบ้างในการติตตั้ง


อย่างแรกคือสำรวจความพร้อมของสถานที่ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ เช่น ควรสำรวจกำลังไฟในบ้านว่ามีการใช้งานไฟฟ้าขนาดไหน และคุ้มค่าหรือไม่ในการติดตั้ง โซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน 


ต่อมาคือสำรวจความแข็งแรงของหลังคาบ้าน เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์ จะมีขนาด 1x2 เมตร และ 1 แผ่นจะมีน้ำหนัก ประมาณ 22 กิโลกรัม โดยสิ่งที่ควรตรวจสอบคือวัสดุที่ใช้ปูหลังคาบ้าน หากเกิดมีส่วนที่เสียหาย หรือ สภาพของหลังคาไม่แข็งแรงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซม หรือรีโนเวทใหม่ เนื่องจากการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์นั้นมีอายุการใช้งาน เฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี หากตรวจสอบไม่ดีอาจจะเกิดปัญหาตามมาจากการที่หลังคาไม่สามารถรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ได้


รูปทรงของหลังคาบ้านสามารถติดตั้งและเหมาะกับทุกรูปทรงของหลังคา แต่รูปทรงของหลังคานั้นอาจจะพบปัญหาด้านอื่นที่อาจจะส่งผลกระทบในการทำงานของ แผงโซลล่าเซลล์ ตามมา โดยทางผมจะยกตัวอย่าง 3 หลังคารูปแบบที่ส่วนมากจะนิยมในไทยนะครับ


  1. หลังคาทรงจั่ว นิยมอย่างมากในประเทศไทย เพราะสามารถระบายความร้อนได้ดี ลักษณะของทรงหลังคาจะสูง ลาดชัน ทำให้สามารถติดโซล่าเซลล์ได้ง่ายที่สุด


  1. หลังคาทรงเพิงแหงน สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ง่ายเช่นเดียวกับหลังคาทรงจั่ว เนื่องจากมีพื้นที่หลังคาเยอะ และ กว้าง แต่ต้องระวังในเรื่องของการรั่วซึมเมื่อฝนตก เนื่องจากความลาดเอียงของหลังคาประเภทนี้น้อยมาก ส่งผลให้ไหลของน้ำฝนระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าหลังคารูปทรงอื่น


  1. หลังคาทรงปั้นหยา เป็นทรงหลังคาที่นิยมใช้กันทั่วโลก ข้อดีของหลังคาประเภทนี้ที่สามารถรับแรงปะทะของลม กันแดด กันฝนได้ดี แต่การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี  แต่ในการติดโซล่าเซลล์นั้นสามารถติดตั้งได้ทุกทิศของหลังคา


นอกจากการสำรวจลักษณะรูปของหลังคา และความแข็งแรงของหลังคานั้น ทิศในการติดตั้งก็มีความจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับภูมิประเทศของเพื่อน ๆ ด้วยครับ


ทิศที่เหมาะสมกับการติดตั้งโซลล่าเซลล์ในประเทศไทย

    

ทิศใต้ > ทิศตะวันออก = ทิศตะวันตก > ทิศเหนือ


ประเทศไทยนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นทางด้านทิศตะวันออก และ อ้อมไปทางทิศใต้ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไม่ควรหันไปทิศเหนือ เนื่องจากเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด ส่วนทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตกนั้นประสิทธิภาพเมื่อติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะเท่ากัน เนื่องจากจะได้รับแสงปานกลาง แต่ข้อจำกัดการรับแสงจะอยู่ในช่วงเช้า-เที่ยงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับทางทิศใต้ การรับแสงของทิศตะวันออกจะได้รับแสงน้อยกว่า 2-16% จะส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่วนทิศที่เหมาะสมในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์มากที่สุด คือทิศใต้เนื่องจาก ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ในการติดตั้งสามารถเอียงแผงเล็กน้อยประมาณ 13.5 องศา เพื่อให้แผงสามารถรับแสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

   

ทีนี้น้องไฟหมุนจะพามารู้จักกับแผงประเภทต่างๆกัน


แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

รูปทรงของเซลล์จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ทำมาจากซิลิคอนบริสุทธิ์แท่ง

 

  • ข้อดี มีอายุการใช้งานยาวนาน 25-40ปี และ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีแม้จะมีแสงแดดน้อย

  • ข้อเสีย มีราคาสูงและหากปล่อยให้มีคาบสกปรกบนแผงเป็นระยะเวลานานทำให้ระบบอินเวอร์เตอร์ไหม้ได้


แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

รูปทรงของเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีแผงเข้มสีน้ำเงิน ทำมาจากผลึกซิลิคอน

 

  • ข้อดี ราคาไม่สูง และแผงโพลีคริสตัลไลน์สามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย

  • ข้อเสีย มีอายุใช้งานไม่นานเท่าแผงโมโนคริสตัลไลน์ ระยะการใช้งาน20-25 ปี


แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

สีแผงมีสีดำ ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าชนิดอื่น

 

  • ข้อดี ราคาถูกที่สุด มีน้ำหนักเบา สามารถโค้งงอได้ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี

  • ข้อเสีย ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด อายุการใช้งานสั้น และไม่เหมาะนำมาติดตั้งใน

ภาคอุสาหกรรมและครัวเรือน


เลือกผู้ให้บริการในการติดตั้งโซล่าเซลล์

เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการพิจารณาผู้ที่จะมาให้บริการ ติดตั้งโซลล่าเซลล์ให้กับบ้านของเรา โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาก็อาจจะมีตั้งแต่ ราคาค่าบริการ บริการหลังการขาย ประกัน มาตรฐานในการติดตั้ง และความเชี่ยวชาญ


การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการที่มีความชำนาญ และได้รับมาตรฐานคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากเลือกผู้ติดตั้งที่ไม่เชี่ยวชาญพออาจจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง ปัจจัยสำคัญต่อมาคือการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ควรศึกษาการให้บริการหลังการขายและการรับประกันให้ถี่ถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันหากแผงโซล่าเซลล์เกิดปัญหา


ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

หลังจากเตรียมความพร้อมของสถานที่ เลือกชนิดของแผงโซล่าเซลล์ และเลือกผู้ให้บริการการติดตั้งไปแล้ว มาสู่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การทำเรื่องขอติดโซล่าเซลล์บ้าน ขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือน และรายละเอียดของการขออนุญาตนั้น อาจจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แต่หากเป็นการติดโซล่าเซลล์ที่ใช้สำหรับบุคคลจะมีขั้นตอนดังนี้

 

  • ก่อนเริ่มการติดตั้งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เข้าไปทำการสำรวจสถานที่ ทำการวัดขนาด และทิศทางของการติดตั้ง

  • ผู้ขออนุญาตติดตั้งต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เข้าไปยื่นที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

เอกสารที่ต้องนำไปยื่นคือ


  1. รูปถ่ายแสดงการติดตั้งของอุปกรณ์

  2. สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งราชการส่วนท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้คุณสามารถทำเรื่องขอไปที่ สำนักงานเขต เพื่อทำการแจ้งขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนที่พักอาศัย

  3. ในกรณีต่อเดิม เปลี่ยนแปลงอาคารไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ต้องแจ้งให้ทางวิศวกรโยธาเข้ามาตรวจสอบและเซ็นรับรอง เพื่อนำเอกสารชุดนี้ไปยื่นขอใบอนุญาต อ.1 ที่สำนักงานเขต

  4. แจ้งทางโยธาพร้อมวิศวกรโยธาที่มีใบ กว. เข้าไปตรวจความพร้อมในการติดตั้ง เพื่อทำการรับรองว่าสถานที่อยู่อาศัยมีความพร้อม

  5. เอกสาร Single line Diagram ที่ถูกลงนานด้วยวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบ กว. รับรอง

  6. รายละเอียดของแผงโซล่าเซลล์

  7. รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบ

                                   

การทำเรื่องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น จะมีขั้นตอนที่เยอะพอสมควร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่มีผู้ให้บริการหลายบริษัทที่รับเป็นตัวแทนในการดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถประหยัดเวลาในการดำเนินการได้


การดูแลแผงโซล่าเซลล์

เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นดูแล และตรวจสอบสภาพแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ หากขาดการดูแลและตรวจสอบเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานและประสิทธิภาพการรับแสงน้อยลง 


วิธีการดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์

 

  • หมั่นตรวจสอบสภาพของแผงโซล่าเซลล์ว่ามีรอยร้าว รอยแตก หรือสีของแผงต่างไปจากเดิมหรือไม่

  • ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ เพื่อขจัดคราบฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ติดบนแผง อุปกรณ์ที่สามารถใช้ทำความสะอาดได้ควรเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดรอย เช่น แปรงขนไนลอน ผ้า หรือฟองน้ำ โดยอุปกรณ์ที่จะใช้ทำความสะอาดไปชุบด้วยน้ำเปล่า เพื่อล้างทำความสะอาดได้ ความถี่ในการทำความสะอาดควรอยู่ที่ 4-5 ครั้งต่อปี และควรเลือกล้างในช่วงเช้า

  • เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก ควรทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอโดยหมั่นตรวจ แบตเตอรี่ สายไฟ และกล่องอุปกรณ์ต่างๆ

  • ตรวจสอบโดยเลือกผู้ให้บริการตรวจสอบ และทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งอาจจะประหยัดเวลา และให้ผู้เชี่ยวชาญมาดูให้ถูกจุดจะดีที่สุด



เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

เครื่องวัดพลังงานเเสงอาทิตย์   ใช้สำหรับตรวจเช็คค่าพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อรับแสงและเก็บพลังงานให้ได้คุ้มค่าที่สุด



โซลาร์ (Solar) มีกี่ระบบ ต่างกันยังไง ติดหลังคาโซลาร์ต้องใช้แบบไหน?



ในปัจจุบันการติดโซลาร์ (Solar) มี 3 ระบบ  คือ ระบบออนกริด (On Grid), ระบบออฟกริด (Off Grid), ระบบไฮบริด (Hybrid Grid)


1. ระบบออนกริด (On Grid)

       เป็นระบบโซลาร์ (Solar) ที่ใช้ทั้งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า  และไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์  เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ไม่มีแบตเตอรี่กักเก็บ  ผลิตไฟฟ้าได้แล้วสามารถใช้ได้เลย  และสามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าได้ 

 โดยก่อนติดตั้งจำเป็นต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อน  ในปัจจุบันระบบนี้นิยมติดตั้งมากที่สุด  เพราะคืนทุนเร็วที่สุด  และต้นทุนถูกกว่าระบบไฮบริด (Hybrid) ซึ่งแบตเตอรี่ยังมีราคาสูงทำให้คืนทุนช้ากว่า  


2. ระบบออฟกริด (Off Grid)  แบบออฟกริดไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า  หรือเรียกว่าเป็นระบบ Stand Alone  ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าในการติดตั้ง   เหมาะกับสถานที่ ที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง  เช่น  พื้นที่ห่างไกล  หรือบนดอยสูง 


3. ระบบไฮบริด (Hybrid Grid)

     ระบบไฮบริดเป็นการผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid  โดยมีการใช้ไฟจากทั้งการไฟฟ้า ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ และไฟจากแบตเตอร์รี่  

ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งาน แบตเตอรี่จะกักเก็บไฟ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน แต่ระบบไฮบริด จะไม่สามารถขายกระแสไฟคืนให้กับภาครัฐได้  ในปัจจุบันระบบแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐาน และ มีความปลอดภัย ยังมีราคาสูงมาก ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนนาน  จึงยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

    

จากบทความเรื่องโซล่าเซลล์ อาจจะช่วยให้เพื่อน ๆตัดสินใจในการติดตั้ง แผงโซลาร์ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งเพื่อน ๆ ที่ต้องการติดตั้งเพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน หรือ ติดตั้งเพื่อลงทุน และ อาจจะช่วยให้ทุกคน ได้เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนติดตั้ง ทั้งในการเดินเรื่องเอกสาร หรือ พื้นที่ในการติดตั้ง


โคมไฟถนนโซลาร์เซลล์ (Solar Cell Street Light)



    ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งผู้คนต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลกเนื่องจาก ทรัพยากรนั้นเป็นสิ่งทีใช้แล้วหมดไป ดังนั้น พลังงานทดแทน จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการช่วยลดมลภาวะ ในสิ่งแวดล้อม และปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และอีกเหตุผลหนึ่งในการใช้พลังงานทดแทนคือ ลดค่าใช้จ่าย และแก้ปัญหาต้นทุนของพลังงานที่เพิ่มขึ้น อย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


    จากบทความก่อนหน้าที่มีการเกริ่นถึงพลังงานโซลาร์ หรือพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยบทความนี้เราจะมาพูดถึง โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ (Solar Cell Street Light) ซึ่งเริ่มมีการใช้แพร่หลาย เช่น  หลอดไฟโซล่าเซล์ อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ , แบตเตอรี่โซล่าเซลล์  หรือ ไฟกระพริบโซล่าเซลล์


    โดยหลักการทำงานของไฟถนนโซล่าเซลล์มีหลักการทำงานคือ การใช้แผงโซล่าเซลล์ ในการรับพลังงานของแสงอาทิตย์ โดยผ่านตัวแปลงของความเข้มจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า และ ส่งไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ และทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับตัวหลอดไฟ



ส่วนประกอบที่สำคัญของ ไฟถนนโซล่าเซลล์


1.แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels)

    ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้า โดยเป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยวัดหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) และควรตั้งไว้ทีที่มีแสงแดดเพียงพอต่อการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์

    ในกรณีพื้นที่ฝนตกชุก หรือพื้นที่แสงแดดไม่ทั่วถึง ควรใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดผลึกซิลิคอนเดี่ยว เพราะความมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ดี แต่หากต้องการลดต้นทุน หรือปัญหา อุณหภูมิที่สูงเกินไป ควรใช้แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (thin film)  ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน (amorphous silicon) เหมาะสำหรับ การนำมาใช้งานในพื้นที่ที่มีแสงน้อย


2.ตัวควบคุมการชาร์จและจ่ายไฟ (Solar Charger Controller)

สิ่งจำเป็นแบตเตอรี่ภายในเครื่องควบคุม คือ การควบคุมการชาร์จและการจ่ายไฟที่ดี เนื่องจากมีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ โดยอุปกรณ์ป้องกัน มีความสามารถในการตั้งค่าความสว่างของหลอดไฟและฟังก์ชั่นการตั้งเวลาการปิดเปิด เพื่อกำหนดเวลาในการทำงาของหลอดไฟ


3.แบตเตอรี่ (Battery)

ใช้เก็บสะสมและจัดการกับพลังงานไฟฟ้า โดย แบตเตอรี่ทั่วไปที่นำมาใช้ในระบบไฟถนนโซล่าเซลล์ ควรต้องเป็นแบบ deep cycle มีอายุการใช้งานที่นานกว่าและจ่ายไฟได้สม่ำเสมอ และ ถูกออกแบบมาให้สามารถคายประจุหรือ discharge ได้ลึก หรือได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบธรรมดา โดยที่ แบตเตอรี่ deep cycle สามารถที่จะคายประจุได้ถึง 45%-75% ของพลังงานที่เก็บสะสมอยู่ และ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด


  • 1.แบตเตอรี่แบบเปียกหรือแบตเตอรี่ชนิดน้ำ (Wet Battery, Flooded Acid Battery) เป็นแบตเตอรี่ที่มีการใช้งานมากที่สุด ในการใช้คู่กับระบบโซล่าเซลล์ เนื่องจากมีราคาถูก แต่ต้องการความดูแลที่สม่ำเสมอโดยการติดตั้งนั้นควรติดตั้งในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท และ ต้องไม่ล้ม หรือเอียง

  • 2.แบตเตอรี่ชนิดเจล (Gel Battery) แบตเตอรี่มีอายุที่ยืนยาว โดยใช้ผงซิลิกาเติมลงไปในสารละลายแบตเตอรี่ทำให้ สารละลายเป็นเจล และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา

  • 3.แบตเตอรี่ชนิดข่ายไฟเบอร์กลาส (AGM : Absorbed Glass Mat) แบตเตอรี่ชนิดนี้มีราคาสูงกว่าแบบน้ำ โดยชนิดนี้นั้นใส่ตาข่ายไฟเบอร์กลาสในการกลั้นแต่ละเซลล์ และไม่ต้องบำรุงรักษา

  • 4.หลอดไฟ และโคมไฟ
    • 1.หลอดประหยัดไฟ ใช้กำลังไฟน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น เฉลี่ยประมาณ 2000 ชั่วโมง ส่วนมากใช้เป็นไฟประดับทาง เดินบนสนามหญ้า และสวนหย่อม

    • 2.หลอดโซเดียมแรงดันต่ำ มีประสิทธิภาพสุงถึง 200 lm/w การเปิดต้องมีการอุ่นไส้ และให้คุณภาพแสงค่อนข้างต่ำ(CRI) และมีราคาสูง

    • 3.หลอดชนิดคายประจุ ต้องใช้กับ  Inverter กำลังไฟต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง

    • 4.หลอด LED เป็นหลอดที่นิยมใช้กับ ระบบโซล่าเซลล์มากที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาการใช้ที่ยาวนานและประสิทธิภาพสูง

  • 5.เสาไฟและตู้ใส่อุปกรณ์


การติดตั้งไฟถนน ก่อนซื้อควรดูความสูงของเสาไฟ ความกว้างของถนน และมาตราฐานของถนน เพื่อให้การใช้งานเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน


    ในปัจจุบันการรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อม และ รักษาทรัพยากรเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึง และหลอดไฟถนน ระบบโซล่าเซลล์นี้เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ลดค่าใช้จ่าย รวมถึงเป็นไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด และสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัด


    หากท่านใดมีปัญหาอยากปรึกษาสอบถามเกี่ยวกับโคมไฟถนน หรือโซลาร์เซลล์สามารถติดต่อร้านไฟฟ้าพรแสงชัยผ่านเบอร์โทรนี้ได้เลยครับ 02-215-5859



ติดต่อเรา / Contact Us


เลขที่    32,34   ซอยจันทน์ 6 แขวงทุ่งวัดดอน   เขตสาทร   กรุงเทพมหานคร 10120


คุณลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่ เบอร์โทร 

และช่องทางการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ของบริษัทได้ตามนี้เลยค่ะ 

ทางร้านยินดีต้อนรับท่านที่สะดวกเข้ามาที่หน้าร้านเช่นกัน


ทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้บริการคุณลูกค้าในอนาคต   ขอบคุณค่ะ




 เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น.



 LINE Official Account   @Pornsangchai



 Email : pornsangchai@hotmail.com



 Tel. (+66) 214 3641 | 215 5859 | 216 2661 | 216 2825



 Fax. (+66) 214 0756



 *สินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือใด โปรดติดต่อมาตามข้อมูลข้างต้นได้เลยค่ะ

Copyright ® 2021 www.psc.lighting