2024-09-24 22:25:18
ให้เลือกสายไฟที่มีเครื่องหมายมอก. หรือมาตรฐานของ IEC กำกับ
เลือกเต้าเสียบหรือหัวปลั๊กขากลมแทนขาแบน และ ควรเลือกที่มีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กทั้งสองขา เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วสัมผัสขาปลั๊กที่มีไฟ
วัสดุที่ใช้ผลิตควรทำจากทองเหลืองหรือทองแดง ควรมีเต้ารับแบบมีม่านนิรภัย (Safety Shutter) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ป้องกันวัสดุแปลกปลอมเข้าไปภายใน หรือป้องกันการแหย่นิ้วมือลงไปของเด็ก
ให้เลือกปลั๊กพ่วงจากวัสดุไม่ลามไฟซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ลงได้
เช่น พลาสติก ABS , AVC หรือ PC ซึ่งทนความร้อนและแรงกระแทกได้ดีกว่าพลาสติก PVC
ปลั๊กพ่วงควรระบุพิกัดไฟสูงสุดที่สามารถรองรับได้ แรงดันไฟฟ้าใช้งานระหว่าง 220 – 250โวล์ต ใช้กำลังไฟสูงสุดไม่เกิน2500 วัตต์ ปลั๊กพ่วงควรมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กเต้าเสียบ
เพื่อป้องกันไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร
สำหรับมาตรฐานมอก. ปลั๊กพ่วงครอบคุม ปลั๊กที่มีการรับไฟ ตั้งแต่ 50V ขึ้นไปไม่ถึง 440V และห้ามมีแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร
มาตรฐานมอก.11-2531 ที่เห็นบนปลั๊กพ่วงส่วนใหญ่นั้นเป็น มอก.ของสายไฟฟ้า (ไม่ใช่ มอก.ของปลั๊กพ่วง) ซึ่งเครื่องหมายมอก.2432-2555 ที่เป็นตัวบอกได้ว่าชุดสายพ่วงนั้นผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว
ทั้งนี้เลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วง นอกจากต้องคำนึงถึงความสะดวกและความเหมาะสมในสภาพการใช้งานแล้ว ควรพิจารณาคุณภาพของชุดวัสดุที่ประกอบเป็นปลั๊กไฟสายพ่วงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และ หมั่นสังเกต ตรวจสอบปลั๊กไฟสายพ่วงให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ จะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้