0

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร มารู้จักกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันกับน้องไฟหมุน

2022-05-03 10:57:23

#เซอร์กิตเบรคเกอร์ #ตู้โหลดเซ็นเตอร์ #ตู้ไฟ

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร?


    เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และถูกติดอยู่ในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า เพื่อตัดระบบไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการพัฒนาเพื่อเกิดการ ป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ใช้ไฟฟ้าเกิน ไฟฟ้าดูด และไฟฟ้ารั่ว  มีขนาดพิกัดและเฟรมให้เลือกหลากหลาย พร้อมเคสห่อหุ้มป้องกันไฟดูด เพื่อให้อายุในการใช้งานยาวนาน และ ทนทาน


    โดยการทำงานของ เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ การตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเจอกับความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันระบบกระแสไฟฟ้าคล้ายกับฟิวส์ แต่เมื่อแก้ไขวงจรไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วจะสามารถปิดหรือแก้ไขวงจร

ได้ทันที


หากสงสัยเกี่ยวกับหน่วยไฟฟ้าสามารถกดอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลย



ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์มีอะไรบ้าง


ประเภทเซอร์กิตเบรคเกอร์ Circuit Breaker PSC

สรุปเซอร์กิตเบรคเกอร์ชนิดที่พบบ่อย


ประเภท Circuit Breaker


เบรกเกอร์สามารถแบ่งประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า ซึ่งหากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท Low Voltage , Medium Voltage, High Voltage


  1. Low Voltage Circuit Breakers (เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ) เบรกเกอร์ชนิดนี้นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย ได้แก่ MCB, MCCB และ ACB สำหรับเบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน



  • เบรกเกอร์ลูกย่อย ลูกเซอร์กิต (Miniature Circuit Breaker or MCB)

มักถูกใช้ในที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีค่ากระแสไฟไม่สูงมาก จะอยู่ระหว่าง หรือเท่ากับ 100 A มักถูกติดตั้งอยู่ใน ตู้ Consumer หรือ Load centerในบริเวณที่ช่างไฟสามารถตรวจสอบได้สะดวก เป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า MCCB บ้างก็มักจะถูกเรียกว่าลูกย่อย หรือ ลูกสกิด หรือ ลูกเซอร์กิต


  •  โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Molded Case Circuit Breaker or MCCB) คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่หุ้มด้วยเคสแม่พิมพ์ ทำหน้าที่เป็นเบรกเกอร์ใช้เปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้า โดยเบรกเกอร์ชนิดนี้จะ จะทำงานอัตโนมัติ และเปิด-ปิดได้ด้วยมือโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์จะตัดไฟฟ้าเมื่อมีการลัดวงจรเกิดขึ้น มักใช้ในระบบตู้ไฟแบบ Local Panel เหมาะสำหรับพื้บที่ขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟมากกว่า 100A ไปจนถึง 2300A แต่แรงดันไม่เกิน 1000Vเป็นเบรกเกอร์ทำโดยวัสดุ Phenolic  สามารถทนแรงดัน กระแสไฟฟ้าได้ น้อยกว่า หรือเท่ากับ 1600 A ห่อหุ้มด้วย Mold 2 มีลักษณะเป็นฉนวนไฟฟ้า


  • แอร์เซอกิจเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker or ACCB)

เป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ มักถูกใช้ในอาคารพาณิชย์ โรงงาน หรือตึกขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับและตรวจจับกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้จำนวนมาก และมีจุดเด่นที่มีความแข็งแรง ทนทาน ต่อสภาพแวดล้อม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูง โดยมีค่ากระแสไฟฟ้า น้อยกว่า หรือเท่ากับ 6300 A เป็นเบรกเกอร์แบบแรงดันไฟฟ้าต่ำ นิยมติดตั้งไว้ใน ตู้ MDB โดยสามารถติดตั้ง หรือแต่งเติมอุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของตู้ได้


    นอกเหนือจาก Circuit Breaker ที่กล่าวมายังมี อุปกรณ์ที่ช่วยตัดไฟในการกันกระไฟฟ้าดูด และกระแสไฟฟ้ารั่ว ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท RCBO (ป้องกันไฟดูดช๊อต), RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า) ซึ่งจะติดตั้งใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer unit) และ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า


  1.  RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ป้องกันกระแสเกิน(Overload) และกระแสลัดวงจร(Short circuit)


  1. RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด


ทั้งสองชนิดนั้นมีหลักการทำงาน และ การใช้งานที่ต่างกันโดยแบ่งเป็น Voltage Independent  (VI) และ Voltage dependent (VD)


  • Voltage Independent (VI) มีหลักการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับVoltage หรือ คือ ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรก็ยังสามารถใช้งานได้ มักใช้ กับ RCCB มอก. 2452-2552 กับ IEC 61008

  • Voltage Dependent (VD) มีหลักการทำงานโดยใช้กระแสไฟ คือ จะต้องมีไฟเลี้ยงวงจรอุปกรณ์จึงจะทำงาน มักใช้กับ RCBO มอก. 909-2548 กับ IEC 61009


ความแตกต่าง ระหว่าง VI และ VD เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCCB ที่มีหลักการทำงานแบบ VI จะยังสามารถทำหน้าที่ตัดวงจรได้ตามเดิม ส่วน เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO ที่ทำงานแบบ VD นั้น กรณีที่สายนิวตรอลเกิดหลุด หรือขาด เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO จะไม่สามารถทำงานได้

 

        2.Medium Voltage Circuit Breaker เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงดันปานกลาง มักถูกประกอบเข้าไปในตู้สวิตซ์ขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในอาคารหรือใช้ติดตั้งภายนอกสถานีย่อย เช่น ACB, Oil-filled Circuit Breaker และ Vacuum Circuit Breakers


        3. High Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง จะถูกติดตั้งในการส่งกำลังไฟฟ้าที่มีการป้องกัน และควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์ โดยมีกำลังในการส่งไฟ 72.5 kv หรือสูงกว่า









ติดต่อเรา / Contact Us


เลขที่    32,34   ซอยจันทน์ 6 แขวงทุ่งวัดดอน   เขตสาทร   กรุงเทพมหานคร 10120


คุณลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่ เบอร์โทร 

และช่องทางการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ของบริษัทได้ตามนี้เลยค่ะ 

ทางร้านยินดีต้อนรับท่านที่สะดวกเข้ามาที่หน้าร้านเช่นกัน


ทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้บริการคุณลูกค้าในอนาคต   ขอบคุณค่ะ




 เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น.



 LINE Official Account   @Pornsangchai



 Email : pornsangchai@hotmail.com



 Tel. (+66) 214 3641 | 215 5859 | 216 2661 | 216 2825



 Fax. (+66) 214 0756



 *สินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือใด โปรดติดต่อมาตามข้อมูลข้างต้นได้เลยค่ะ

Copyright ® 2021 www.psc.lighting